ญี่ปุ่นโชว์ความปลอดภัย “น้ำเสียฟุกุชิมะ” ไลฟ์สดชีวิตปลาในน้ำที่ผ่านการบำบัด
ทางการญี่ปุ่นเปิดตัวแคมเปญโฆษณาจำนวนมากเพื่อโน้มน้าวใจประชาชนที่กังวลและสงสัยว่า การปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะลงสู่ทะเล มีความปลอดภัยจริง ๆ หรือ?
รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดให้มีการออกอากาศรายละเอียดและข้อมูลการปล่อยน้ำทางทีวีและในสถานีรถไฟ รวมถึงจัดให้มีการถ่ายทอดสดปลาที่อาศัยอยู่ในแทงก์น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว และตีพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงความปลอดภัยของแผนดังกล่าวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แม้แต่กิจกรรมสาธารณะและเทศกาลต่าง ๆ ในช่วงนี้ ก็มีเนื้อหาของการปล่อยน้ำเสียฟุกุชิมะเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นกัน เช่น ในโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศญี่ปุ่น ทางการได้จัดให้มีเวทีเพื่อให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบญี่ปุ่นในอนาคต ได้เรียนรู้และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้
แคมเปญหลากหลายแง่มุมดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะระงับความกลัวต่อแผนการของญี่ปุ่นที่จะปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วกว่า 1.3 ล้านตันลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นแผนการที่ทำให้เกิดเสียงต่อต้านทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เกาหลีเหนือเรียกร้องประชาคมโลก หยุดยั้งญี่ปุ่นปล่อยน้ำโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ
จีนคุมเข้มอาหารนำเข้า หลังญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะลงทะเล
ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงทะเล ส.ค.นี้
รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่ากระบวนการนี้ปลอดภัย โดยอธิบายว่า น้ำเสียดังกล่าวนี้ เป็นน้ำเพื่อทำให้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเย็นลง หลังจากได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิปี 2011 โดยนำมาบำบัดด้วยระบบที่เรียกว่า “Advanced Liquid Processing System (ALPS)” ซึ่งจะกำจัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีส่วนใหญ่ออกไป
สัปดาห์ที่แล้ว สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ของสหประชาชาติ ได้ตรวจสอบแผนของญี่ปุ่น และระบุว่าเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก
นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาหกรรมประมง ซึ่งเมื่อปี 2011 เคยประสบสถานการณ์ถูกแบนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตในพื้นที่รอบฟุกุชิมะ และยังได้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารหลายครั้งและเกณฑ์ผู้มีอิทธิพลเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารในฟุกุชิมะ
แม้จะมีการสื่อสารและงบประมาณสนับสนุนดังกล่าว แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนในประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและเกาหลีใต้ พิสูจน์ให้เห็นว่า มันเป็นเรื่องยากเพียงใดที่ญี่ปุ่นจะโน้มน้าวใจสาธารณชนให้เชื่อมั่นถึงความปลอดภัยของแผนปล่อยน้ำ
มากิอุจิ โชเฮ นักข่าวอิสระที่รายงานข่าวการปล่อยน้ำเสียฟุกุชิมะ กล่าวว่า กลยุทธ์ที่รัฐบาลญี่ปุ่นใช้ให้รู้สึกเหมือนเป็น “โฆษณาชวนเชื่อ” ทำให้คนส่วนมากรู้สึกว่าไม่น่าเชื่อถือ
“แทนที่จะปล่อยให้มีการอภิปรายอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับสิ่งที่ญี่ปุ่นควรทำกับน้ำเสียกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว รัฐบาลกลับบอกประชาชนฝ่ายเดียวว่าแผนดังกล่าวปลอดภัย” มากิอุจิกล่าว
แม้ว่าจะเป็นการยากที่จะบอกได้ว่า แคมเปญต่าง ๆ ของรัฐบาลญี่ปุ่นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดในการโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชน และเสียงวิจารณ์แผนของญี่ปุ่นยังคงมีมากอยู่ แต่ผลสำรวจล่าสุดชี้ให้เห็นว่าความคิดเห็นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ แล้ว
ในการสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งจัดทำโดยหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ 45% ไม่เห็นด้วยกับแผน แต่ล่าสุดในเดือนมีนาคม 2023 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ 51% เห็นด้วยกับแผน
เรียบเรียงจาก Al Jazeera
ภาพจาก AFP