แถลงนโยบายรัฐบาล – เศรษฐา ประกาศ ภายในไตรมาส 4 เดินหน้า "พักหนี้เกษตรกร" ทั้งต้นและดอ…
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภา ถึงเรื่องการพักหนี้เกษตรกร โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย.66) โดยในเบื้องต้นมีแนวทางเร่งด่วนที่จะทำให้ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ คือ การพักหนี้เกษตรกร โดยพักทั้งเงินต้น พักดอกเบี้ยไปพร้อมกับแผนการสร้างรายได้ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตตามที่ตลาดโลกต้องการ
จากคนละครึ่งสู่คนละหมื่น แนะวิธีแจกเงินให้ได้ผลสูงสุด
"เศรษฐา" เผย ครม.นัดแรก พรุ่งนี้เคาะลดค่าไฟ
ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่สอง 12 ก.ย. 2566 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รัฐบาลตระหนักดีถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรทุกคนนอกเหนือจากปัญหาปากท้อง เรื่องการรายได้เกษตรเป็นเรื่องสำคัญ และเรื่องหนี้สินก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
การพักต้น พักดอกเป็นการฟื้นฟูจิตใจของเกษตรให้มีกำลังแรง กาย ใจ ในการทำมาหากิน สร้างรายได้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี โดยไม่เสียวินัยการเงินการคลัง
นอกจากนี้ จะสนับสนุนการสร้างผลผลิตในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงภาวะโลกร้อน นำเทคโนโลยีและความรู้เข้ามาใช้ เช่น การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือลดการใช้ปุ๋ย เพิ่มผลผลิต โดยใช้เกษตรแม่นยำ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การใช้ดาต้า ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ นายเศรษฐา ยังกล่าวถึงประเด็น การนำเข้าหมูเถื่อน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ลามไปทั่วประเทศ โดยได้ประสานกับอธิบดีกรมศุลกากรและเชิญเจ้าหน้าที่มาพูดคุย เพื่อวางแผนสั่งการในเรื่องนี้
ขณะที่ รายได้ครู และข้าราชการ รัฐบาลก็เตรียมที่จะเข้าไปดูแลเรื่องรายได้ให้เหมาะสมกับงบประมาณ โดยรักษาวินัยการเงินการคลัง
ต่อมานายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่วาต่อโดยขอชี้แจงใน 3 ประเด็น คือ
1. แยกการอภิปรายพาดพิงระหว่างนโยบายรัฐบาลและนโยบายของพรรคเพื่อไทย
2. การแก้ไขโดยการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี เป็นจุดเริ่มต้นการทำงาน และเตรียมการล่วงหน้าไปมากแล้ว แต่ที่ผ่านมารัฐบาลหลายชุดใช้นโยบายพักหนี้มาแล้วถึง 13 ครั้ง ซึ่งการพักหนี้ไม่ใช่ทางออกที่เป็นรูปธรรม แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยเฉพาะภาคการเกษตรมีหนี้อยู่ในระดับสูง การพักหนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญก่อนที่จะดำเนินนโยบายต่อๆไป
โดยหลังจากนั้นจะมีการคัดกรองเกษตรกรตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม มีโครงการจูงใจให้เกษตรกรที่เข้าพักหนี้สามารถลดภาระเงินต้นได้ บริหารจัดการหนี้ให้ชัดเจน ส่งเสริมการเพิ่มรายได้ ปลูกพืชมีมูลค่ามากขึ้น เพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยใช้ตลาดนำ ใช้นวัตกรรมเสริม มีการเจรจาการค้า FTA มากขึ้น
3.การใช้โอกาสของสถานการณ์ เอลนิลโญซึ่งทั่วโลกอาจประสบกับภาวะขาดแคลนอุปทานด้านอาหาร แต่ประเทศไทยสามารถสร้างความแข็งแกร่งจากวิกฤตนี้ได้ รัฐบาลจะทำให้ไทยกลับมาเป็นครัวโลกได้ ผลักดันให้ราคาสินค้าเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำเข้ามาช่วยเสริม จะช่วยพลิกฟื้นชีวิตให้เกษตรกร ให้กลับมาเป็นฟันเฟืองทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มภาคภูมิ
นอกจากนั้นแล้ว นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ยังกล่าวว่ารัฐบาลมีแนวทางในการหนี้ในส่วนภาคอื่นๆ เช่น หนี้กลุ่มเอสเอ็มอี หนี้ข้าราชการ เช่น หนี้ครู หนี้ตำรวจ เป็นต้น
ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน
ส่อง “ร้านอาหารเกาหลีเหนือ” ในต่างประเทศ ไม่มีลูกค้าแต่เงินสะพัด
ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้