วันที่ 3 ก.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย โดย “น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์” ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธปท. ติดตามสถานการณ์หนี้ครัวเรือนใกล้ชิดและผลักดันการดำเนินการตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาวกับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อให้เจ้าหนี้ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ให้กลับมาฟื้นตัวได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ทยอยลดลงจากที่เร่งตัวสูงในช่วงโควิด โดย ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP (เพิ่มขึ้นจากการปรับข้อมูลให้ครอบคลุมผู้ให้กู้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ที่เพิ่งเกิดใหม่ โดยจากข้อมูลชุดใหม่ หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2565 อยู่ที่ 91.4%) ขณะที่จำนวนบัญชีและยอดหนี้ของสินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน จากผลกระทบของโควิด (ลูกหนี้รหัส 21) ล่าสุดได้ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2565 แล้ว จากการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ในระยะต่อไป NPL อาจทยอยปรับขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อย หรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว แต่จะไม่เห็น NPL cliff และเป็นระดับที่ สง. บริหารจัดการได้ สอดคล้องกับมุมมองของ Rating agencies ต่อภาคธนาคารไทยที่ยังมั่นคง อีกทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ปรับดีขึ้น โดยหนี้กลุ่มเปราะบางที่อาจเสื่อมคุณภาพลง ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สูง และกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือแล้ว แต่ยังกลับมาชำระหนี้ไม่ได้

สำหรับสินเชื่อรถยนต์ ที่จัดชั้น stage 2 (SM) ที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงโควิด ไม่จำเป็นว่าจะกลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด ดูได้จากพฤติกรรมของลูกหนี้ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าอาจเว้นงวดผ่อนรถเพื่อนำเงินไปหมุนจ่ายภาระอื่น ทำให้โดยทั่วไป SM ของสินเชื่อรถยนต์จะอยู่ในระดับสูงกว่าสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น ซึ่ง ธปท. ได้กำชับ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ให้เร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว

นอกจากนี้ ลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันและเป็นหนี้เสียค้างชำระเกินกว่า 120 วัน ก็สามารถเข้าร่วมคลินิกแก้หนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาระรายเดือนอยู่ในระดับที่สามารถชำระคืนได้

ธปท. จะเร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องทำอย่างครบวงจร ถูกหลักการ และร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยแนวทางดังกล่าวจะครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่การก่อหนี้ใหม่ที่มีคุณภาพ การดูแลหนี้เดิมโดยเฉพาะ NPL และหนี้เรื้อรัง รวมถึงช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบ

สำหรับแนวทางแก้ไขหนี้ครัวเรือนของ แบงก์ชาติ มีดังนี้

1.เกณฑ์ Responsible Lending (RL) ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ หนี้มีปัญหา จนถึงการขายหนี้ โดยลูกหนี้ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ทันเวลา มีคุณภาพ และเพียงพอ มีแนวทางการดูแลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง ให้เห็นทางปิดจบหนี้ได้

“หลักเกณฑ์ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ เช่น ผู้ให้บริการสินเชื่อและธนาคารต้องไม่โฆษณากระตุ้นการกู้จนเกินตัว ให้ข้อมูลครบถ้วน กระตุกพฤติกรรมลูกหนี้ให้มีวินัยการเงิน ไม่เสนอขายด้วยคำว่าของมันต้องมี”

2.กลไก Risk-based pricing (RBP) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ และช่วยให้ลูกหนี้จ่ายอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงและได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยหลักการสำคัญคือลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำควรได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลง และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสำหรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง

“หลักเกณฑ์ให้ปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงผู้กู้ โดยไม่ปฏิเสธสินเชื่อ ให้คนกู้เข้าถึงแหล่งเงิน ผู้กู้เสี่ยงสูงกู้ได้ดอกเบี้ยสูง แต่ถ้าผู้กู้ความเสี่ยงต่ำกู้ดอกเบี้ยถูก และไม่อยากเห็นปล่อยกู้จนหนี้สินล้นพ้นตัว กระทบหนี้ครัวเรือน และไม่อยากให้ลูกหนี้ดีต้องจ่ายดอกเบี้ยแพง ขณะที่ในต่างประเทศมีการใช้เครดิตสกอริ่งเข้ามาร่วมด้วยในการพิจารณาสินเชื่อ”

3.มาตรการ Macroprudential policy (MAPP) ให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่อสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ และลูกหนี้มีเงินเหลือพอดำรงชีพ ไม่นำไปสูงการก่อหนี้สินเกินตัว เช่น การคุมหนี้ไม่ให้อยู่ในระดับสูงเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ในแต่ละเดือน (DSR)

“มาตรการแมคโครพรูเด็นเชียล เช่น แนวทางปล่อยกู้ให้คนมีเงินเหลือใช้ ดูจากภาระหนี้ต่อรายได้ (ดีเอสอาร์) ต่อคน แต่ดีเอสอาร์ดูจังหวะสอดคล้องกับเศรษฐกิจ ออกใช้เมื่อมีความพร้อมดูผลกระทบรอบด้าน”

ทั้งนี้ สำหรับแผนการนำมาใช้ในส่วนของ RL และการแก้หนี้เรื้อรังจะบังคับใช้ก่อนเป็นลำดับแรก ตามมาด้วยมาตรการ RBP สำหรับในเรื่อง MAPP การนำมาใช้จะต้องพิจารณาให้เหมาะกับบริบทของเศรษฐกิจ โดย ธปท. จะชี้แจงรายละเอียดในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ต่อไป

“การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น เพื่อขยายผลไปยังอีก 30% ของหนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ด้วย เช่น การปลูกฝังให้ลูกหนี้มีความรู้และวินัยทางการเงิน การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบของเจ้าหนี้ทั้งระบบ การพัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ประเมินและติดตามหนี้ และการแก้จน/สร้างรายได้ เป็นต้น”

น.ส.สุวรรณี เพิ่มเติมว่า ธปท.ติดตามใกล้ชิดช่วยลูกหนี้จากมาตรการแก้หนี้ระยะยาว และยืนยันหน้าผาเอ็นพีแอล ซึ่งเอ็นพีแอลอาจเพิ่มขึ้นบ้างตามกลุ่มเปราะบาง โดยเจ้าหนี้สถาบันการเงินยังบริหารจัดการได้ หลังจากสิ้นปีนี้การปรับโครงสร้างหนี้เป็นมาตรการปกติที่ใช้ดูแลลูกหนี้ แต่การจัดชั้นกันสำรองจาก ธปท. ไม่ได้มีแล้ว แต่เชื่อว่าไม่ได้มีผลกระทบใดๆ ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ที่ใช้กับสินเชื่อบ้านเฉลี่ยขึ้นไม่ถึง 50% จากที่ดอกเบี้ย ธปท. ขึ้นไปแล้ว 1.5% หรือขึ้นดอกเบี้ย 1% ธนาคารจะขึ้นเอ็มอาร์อาร์ 50 สตางค์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตามหากลูกหนี้มีปัญหาการผ่อนสินเชื่อบ้าน มี 3 ทางเลือก คือ ผู้ที่ผ่อนครบ 3 ปีและมีประวัติชำระหนี้ดี อาจให้เจ้าหนี้รายใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าหรือรีไฟแนนซ์ แต่ผู้ที่จ่ายค่างวดไม่ไหว ต้องรีบเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ และในอนาคตหากมีรายได้เพิ่ม สามารถโปะลดหนี้ได้ เพื่อลดดอกเบี้ยระยะยาว และยืนยันการโปะคือไม่มีค่าธรรมเนียมและไม่คิดดอกเบี้ย ส่วนสินเชื่อรถยนต์ ควรดูความจำเป็นในการใช้รถ ควบคู่กับความสามารถในการผ่อนค่างวด

หนี้ที่ใกล้เป็นหนี้เสีย หรือเอสเอ็มหนี้รถยนต์ ยอมรับเวลาปล่อยกู้มีหนี้เสียอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ 100 บาท จะเป็นหนี้ดีกลับมาหมด และหนี้รถยนต์มีการเลี้ยงค่างวด แต่อาจเป็นชั่วคราว ถ้าช่วงเปิดเทอม เม.ย.-พ.ค. ผู้ปกครองจ่ายค่าเทอม และกลับมาจ่ายหนี้ได้ แต่ถ้าคนที่ปล่อยเลี้ยงค่างวดจะกลายเป็นเอ็นพีแอล ต้องให้เจ้าหนี้มาช่วยดูแลแต่ละราย เพราะแต่ละกลุ่มปัญหาไม่เหมือนกัน

“หนี้ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มเปราะบางไม่สามารถชำระหนี้ได้ หนี้ที่ไม่เกิดรายได้ไม่มีประโยชน์ เกินความจำเป็น และหนี้ที่ต้องเร่งแก้ไขคือ หนี้เสีย, หนี้เรื้อรัง ยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่ปิดจบไม่ได้ หนี้ใหม่กลุ่มเจนเอ็กซ์ เจนวาย และกลุ่มหนี้นอกระบบ”